25 มี.ค. 2558

บัวลอยไข่หวาน



แป้งบัวลอย   เป็นแป้งข้าวเหนียว แล้วแต่จะทำสีอะไรบ้าง สีม่วง-อัญชัญ หรือมันม่วง    สีเขียว-ใบเตย  สีฟ้า-อัญชัญ+น้ำมะนาวนิดเดียว  สีเหลือง-ฟักทองหรือมันไข่ สีแดง-กระเจี๊ยบหรือหัวบีทรูท  หลากสีแล้วแต่ วันนี้ได้เตรียมแป้งอยู่ 2 ตัว เพราะใบเตยไว้วันปั้นจะทำทีหลังสุด5555+
แป้งทำนวลไม่ให้แป้งที่ปั้นติดกันคือแป้งมันสำปะหลัง  ส่วนแป้งที่ทำบัวลอยคือแป้งข้าวเหนียว
นำฟักทองไปต้มกับน้ำใส่น้ำตาล ให้นุ่มแล้วจับชิ้นขึ้นมาบี้ๆ บดๆ กับแป้งข้าวเหนียว งานนี้บอกสูตรไม่ได้เพราะ ขึ้นอยู่กับน้ำในตัวของฟักทอง (ตัวฟักทองเนื้อเค้าจะนิ่ม) ที่ทำฟักทองประมาณ ½ กก  ไม่เอาน้ำนะ  พักให้พอเย็น สรุปใส่แป้งไปเกือบ ½ กก จับนวด ถ้ายังเกาะและๆ ตามภาชนะกับมือก็เติมแป้งไปอีกจนกว่าจะไม่ติดภาชนะ  เมื่อเสร็จก็เก็บใส่ถุงแช่ตู้เย็นรอไว้วันจะปั้น
แป้งเผือก นำเผือกต้มกับน้ำ ใส่น้ำตาล ให้นุ่มฟู แตกๆตัว ตักขึ้นมาไม่เอาน้ำ   พักพอเย็น แต่ตัวเผือกนี้น้ำในตัวเขาจะน้อย ตัวแป้งจะร่วนๆ ซุยๆ ไม่แฉะเหมือนฟักทองจะมีเพียงบางส่วนที่ติดเป็นเมือกๆที่มือ สังเกตดูว่าไม่แฉะก็ใช้ได้ เพราะถ้าวัดจากการดูที่ภาชนะไม่ได้จร้า มันติด อิอิ อีกอย่างเผือกที่ทำจะไม่บดให้ละเอียด คือบี้ๆ บดๆ ไม่เอาละเอียดชอบตอนที่เคี้ยวแล้วได้รสชาติกัดโดนชิ้นเผือกเล็กน้อย ^0^
ส่วนแป้งสีอื่นๆ ก็ใช้เป็นตัวแป้งข้าวเหนียวนวดกับตัวน้ำที่เราคั้นสีออกมาได้ (แต่ส่วนใหญ่เวลาทำ แป้งฟักทองเหลือก็จะเทน้ำใบเตยหรือน้ำอื่นใดที่ชอบลงไปผสมเติมแป้งก็จบ ^0^ ง่ายดี 55555+
เมื่อปั้นได้เป็นเม็ดๆ โรยแป้งมันไว้เพื่อกันไม่ให้ตัวแป้งบัวลอยติดกัน  ก่อนที่จะทำก็จับแป้งบัวลอยร่อนในตะแกรง (ขั้นตอนนี้ทำให้แป้งมันหลุดออกมาส่วนที่เกินไม่ติดพอกหนาๆจร้า)
เวลาต้มบัวลอย ตั้งน้ำเดือด (ใส่ต้นหรือใบเตยลงไปก็ได้แล้วแต่ชอบนะ) ใส่ตัวลูกแป้งบัวลอยลงไปตัมสุกก็จะลอยขึ้นมา คอยคนด้วยนะ เพราะเวลาแป้งหนักมันจะจมติดไหม้อยู่ก้นหม้อเดี๋ยวจะเหม็นไหมหมดหม้อจร้า  เมื่อลอยแล้วเตรียมน้ำเย็นไว้อีกตะหากจะทำให้ตัวแป้งขนมบัวลอยไม่ติดกันเวลาที่เราทำแบบเกาเหลาคือ ทยอยตักเสริฟทีละที่ แบบเขาขายอ่ะจร้า (ที่บ้านเราต้มเป็นหม้อๆทิ้งไว้กินทั้งวันเลย )


*****หมายเหตุ จำด้วยสำคัญมาก เผือกมันมียางหรืออะไรซักอย่างพิษของมันจะทำให้เราคันผิวหนัง วิธีไม่ให้คันคือล้างหัวเผือกให้หมดดินให้เกลี้ยงเลย ปอกแล้วห้ามล้างเป็นเด็ดขาด เราโดนมาแล้ว เข็ดมาก
  
วันทำจริงเมื่อทุกอย่างพร้อมสิ่งที่เตรียมก็ไข่หวาน
ทำน้ำเชื่อม ค่อนข้างเข้มข้น จับขิง 1-2 แว่นใหญ่ๆ ใส่ลงไปต้ม หรี่ไฟให้ร้อนเดือดแบบไม่ผุดเดือดพล่านไม่เอานะ เอาร้อนๆแบบเรื่อยๆ ตอกไข่ลงไปรอให้ไข่ขาวเปลี่ยนสี ตักขึ้นพักไว้ในน้ำเชื่อม  
น้ำกะทิไว้โรยหน้าขนม ปรุงรสให้หวาน ตัดเกลือเล็กน้อย
-สารภาพเลยที่บ้านแม่หมูหงส์ จับต้มๆๆๆๆ ตอนไหว้เจ้าก็จับตัวขนมสะเด็ดน้ำเย็นลงในหม้อน้ำกะทิที่ปรุงรสจัดไว้คนเดือดเสร็จเสริฟ จับไข่ลงไปวางชามละ 1 ฟอง ถ้าทำขายคงทำแบบนี้ไม่ได้ 5555+

ส่วนสูตรที่มีมะพร้าวอ่อนก็เนื้อมะพร้าวอ่อนขูดมาเลยจร้า นำน้ำมะพร้าวอ่อนต้มทำน้ำบางส่วน (ที่บ้านใช้แต่เนื้อมะพร้าวอ่อนแช่ฟรีสตามแม็กโครตู้แช่ผลไม้ฟรีสมีขายนะ) ทำแล้วดูไฮโซดี นำมาต้มเดือดกับน้ำตาลก่อนแล้วปรุงใส่กับน้ำกระทิเลยจร้า



จัดการนึ่งฟักทอง หรือจะต้มก็ได้เร็วดี






แป้งที่ใช้คือแป้งข้าวเหนียว







แป้งนวลไม่ให้ติดกัน






น้ำใบเตยผสมกับแป้ง


ฟักทองนึ่งผสมกับแป้ง





เผือกผสมนวดกับแป้ง






กรณีที่แป้งมีน้ำน้อย ใช้ยังไม่หมดแนะนำให้ใส่ห่อถุงพลาสติก ไล่ลมออกจากถุง แช่ฟรีสก็ได้นะ ^0^






เริ่มปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆ  คอยทาแป้งมันที่มือด้วยจ้า ไม่งั้นแป้งติดมือเป็นก้อนๆ เลย ปั้นออกมาก็จะไม่สวย   เมื่อปั้นครบทุกๆสีแล้วนำลงไปต้มในน้ำเดือด หมั่นคน เพื่อไม่ให้ตัวขนมติดกัน ข้อสังเกตุเมื่อขนมสุกตัวแป้งขนมจะลอย ให้ใช้กระชอนช้อนลงไปแช่พักไว้ในน้ำเย็น (ลืมถ่ายรูปไว้) เมื่อต้องการประกอบรวมร่างในการตักขนมในถ้วยก็จะตักทีละ หนึ่งรายการหรือจะต้มลงทีเดียวในน้ำกระทิก็ได้จ้า







ไข่ไก่   ไม่จำเป็นต้องแช่เย็น  เวลาต้มไข่จะง่ายหน่อย




ตั้งหม้อน้ำเชื่อม ให้ร้อนเดือดอย่าให้เดือดพล่าน จะทำให้ตอกไข่ใส่แล้วไม่สวย บางครั้งแนะนำให้ปิดเตาก่อนแล้วค่อยเปิดเตาต้มไข่แบบไฟอ่อนๆจ้า




เวลาจะเสริฟ ต้มน้ำเชื่อม หวานเค็ม (ขอรสจัด) เมื่อเดือด ใส่กระทิสดลงไปให้มีความเข้มข้นหอมมัน เทเม็ดบัวลอยลงไปหรือจะตักใส่ชามราดน้ำกระทิ แล้วค่อยใส่ไข่หวานเลยจ้า
สำหรับบางสูตร บางคนใช้น้ำมะพร้าวอ่อนพร้อมเนื้อลงไปต้มเดือดแล้วค่อยเติมน้ำกระทิ ปรุงรส แล้วก็ไล่ตามขั้นตอนแบบเดิมคือเม็ดบัวลอยราดน้ำกระทิเติมไข่หวาน ^0^







ดูที่สีแล้วอาจจะยังใช้สีไม่มาก ^+++^ ตามหลักเผือกมักจะใช้สีของดอกอัญชัญ (สีม่วง )



รอบหลัง ทำเพิ่มสีสันมากมายอ่ะจ้า

******สีส้มมาจากฟักทอง+เฮลส์บลูบอยสีแดงจ้า หอม หวาน 555+ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น