21 ต.ค. 2558

พยาธิในปลาน้ำเค็ม พยาธิอะนิคาซิส








พยาธิอะนิคาซิส


ดึงออกจากเนื้อยากมาก เนื้อปลาที่พบหลายครั้งมี ปลาเก๋า เป็นกระจุกบ้าง กระจายตามเนื้อตัวบ้าง ส่วนที่จะพบมากทุกครั้งที่ทำคือพุงปลา กับเครื่องในปลาทั้งหลาย บางครั้งก็เจอตามเนื้อปลา กระจายเป็นเส้นๆ อิอิ (เรามันนักชำแหละ สงสัยมานาน พึ่งหาคำตอบว่ามันคือพยาธินั่นเอง) 555+

ความน่ากลัวของมันคือการกินตัวอ่อน ดิบๆ มีชีวิตอยู่นั่นเอง  ถ้าเอามาประกอบอาหาร สุกเรียบร้อยดีจ้า ลำพังส่วนใหญ่เราจะเจอในสภาพตายแล้ว คือแข็งเป็นเส้นๆ **แอบคิดว่าตอนมันยังไม่ตาย ปลาคงทรมานน่าดูเลย เพราะผ่าท้องปลาออกมา มีลิ่มเลือดออกเป็นจุดๆก้อนๆเลย

การทำครัวก็เป็นเช่นนี้ สมัยก่อนทำไส้ไก่ที่พึ่งถูกเชือด เจอพยาธิตัวขาวๆอ้วนๆ กระดื้บ ๆ เยอะแยะตามลำไส้ของไก่เลยด้วยซ้ำ เจอหลากหลาย ให้ขนลุกขนพอง สยองมากน้อยแล้วแต่สิ่งที่ทำอยู่

*พยาธิชนิดนี้ส่วนใหญ่เจอใน ปลาแซลมอน ปลาคอด ปลาดาบ ฯลฯ ทางที่ดีบริโภคเนื้อปลาสุกดีที่สุด
ในข้อมูลที่เสิชในกูเกิ้ล ส่วนใหญ่พยาธิชนิดนี้ตายเมื่อโดนแช่แข็ง อุณหภูมิ -20 องศา แต่เราสนับสนุนให้กินแต่ของสุกจะดีกว่าไม่งั้นเข้า  รพ.  แน่ แถมรักษายากซะด้วย


พยายามถ่ายให้ชัดเจน 



ลักษณะเอาพยาธิออกยากมาก ตัวมันชอนไชไปในเนื้อของปลาเป็นจุดๆ 

บางตัวมันก็จะฝังตัวในเนื้อปลา แต่ตายแล้วนะ 


ดึงออกค่อนข้างยากหน่อย 



ต้องดึงทีละเส้นๆเลยจ้า




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น